Custom Search

Saturday, August 8, 2009

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๐

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๐

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

ชื่อวิชา พระพุทธศาสนา ชื่อรหัส ส ๓๑๑๐๒ ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

เรื่อง : มรรค ธรรมที่ควรเจริญ (มงคล ๓๘ประการ) เวลาเรียน ๒ คาบ



๑. สาระสำคัญ

ข้อศึกษาปฏิบัติที่จะทำให้ชีวิตเข้าสู่ความสุขสวัสดิ์ เจริญงอกงาม พุทธศาสนาที่กล่าวว่า “มงคล” ซึ่งพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ทั้ง ๓๘ ประการมีการไม่คบคนพาลเป็นต้น ซึ่งทุกคนสามารถศึกษาปฏิบัติกันได้โดยง่าย ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ และศาสนาภาษา เป็นเหลักพื้นฐานที่มีอยู่ในทุกคน เพียงแต่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและไตร่ตรองประพฤติปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ ความเป็นมงคลเหล่านั้นจะได้เกิดมีในตัวท่านเอง

๒. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ส. ๑.๑ : เข้าใจประวัติความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

มาตรฐาน ส ๑.๒ : ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ

มาตรฐาน ส ๑.๓ : ประพฤติและปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนาพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

๓. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

รู้และเข้าใจการวิเคราะห์เชื่อมโยงหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนากับอริยสัจ ๔

๔. จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนบอกถึงคุณค่าความสำคัญของมงคลได้

๒. นักเรียนบอกถึงการนำหลักมงคลไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

๕. สาระการเรียนรู้

๕.๑ มงคล ๓๘ ประการ

๑. มงคลที่ ๑ การไม่คบคนพาล

- ลักษณะของคนพาล

- โทษของการคบคนพาล

- ประโยชน์ในการไม่คบคนพาล

๒. มงคลที่ ๒ การคบบัณฑิต

- ลักษณะของบัณฑิต

- ประโยชน์ของการคบบัณฑิต

๓. มงคลที่ ๓ การบูชาสิ่งที่ควรบูชา

- ผู้ที่ควรบูชา

- ลักษณะของการบูชา

- วิธีการบูชา

- ประโยชน์ของการบูชาผู้ที่ควรบูชา

๖. กระบวนการจัดการเรียนรู้

คาบที่ ๑

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

๑. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย พร้อมกับแผ่เมตตา

๒. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนให้นักเรียนทราบ

๓. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสวดมงคลสูตรพร้อมกับนักเรียน

๔. ครูให้นักเรียนดูภาพความแตกต่างกันระหวังบุคคลที่ประพฤติและไม่ประพฤติตาม หลักมงคล

ขั้นสอนและกิจกรรม

๑. ครูนำนักเรียนเข้าศึกษาห้องจริยธรรม พร้อมกับอธิบายถึงมลคล ๓๘ ประการว่ามีความ อะไรบ้าง โดยแจ้งให้นักเรียนทราบว่าระดับ ม.๑ ที่จะศึกษามี ๓ ประการ คือ การไม่คบคนพาล การ คบบัณฑิต บูชาคนที่ควรบูชา

๒. ครูให้นักเรียน แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ตามหัวข้อมงคล พร้อมกับแจกหนังสือ มงคล ๓๘ ประการ ให้แก่ทุกคนได้ศึกษา โดย

- กลุ่มที่ ๑ ค้นคว้าเรื่องการไม่คบคนพาล

- กลุ่มที่ ๒ ค้นคว้าเรื่องการคบบัณฑิต

- กลุ่มที่ ๓ ค้นคว้าเรื่องการบูชาสิ่งที่ควรบูชา

แต่ละกลุ่มศึกษาในเรื่อง ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ที่ได้รับ จากการปฏิบัติตาม และโทษจากการไม่ปฏิบัติตาม โดยให้แต่ละกลุ่มสามารถเสนอภาพข่าว , บทความ , ประกอบการ บรรยายหน้าชั้นเรียนในคาบต่อไป หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มสรุปเล่นส่งครู เพื่อนำไปประเมิน ต่อไป



ขั้นสรุป

ครูสรุปความรู้เรื่องมงคล ๓๘ ประการ โดยย่อให้นักเรียนได้เข้าใจบทเรียนมากขึ้นใน ตอนท้ายชั่วโมง

คาบที่ ๒

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

๑. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย พร้อมกับแผ่เมตตา

๒. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนให้นักเรียนทราบ

๓. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการให้นักเรียนยกตัวอย่างเพื่อน นักเรียนที่ตั้งใจเรียน และ นักเรียนที่ขาดเรียนเป็นประจำแล้วชักถามนักเรียนว่าคนไหนควรคบและไม่ควรคบ

ขั้นสอนและกิจกรรม

๑. นักเรียนนำเสนองานตาลำดับกลุ่มตามหัวข้อมงคลที่แบ่งไว้ครูและนักเรียนที่เหลือ ร่วมกันชักถาม และครูอธิบายเพิ่มเติม เมื่อกลุ่มที่นำเสนอเปิดโอกาสให้ถาม ตามสมควรแก่เวลา

๒. ครูอธิบายเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมหลักจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จ

ขั้นสรุป

๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา และให้นักเรียนบันทึกความรู้ลงในใบงานที่ ๑๑ (เรื่อง : มงคล ๓๘ ประการ) พร้อมกับทำแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมกับส่งงานที่แต่ละกลุ่มสรุป ให้ครูประเมินผล

๗. บูรณาการ

- บูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต

- ภาษาไทย ทักษะการพูด

๘. วัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

- ใบความรู้ที่ ๑๓ (เรื่อง : มงคล ๓๘ ประการ)

- ใบงานที่ ๑๑ (เรื่อง : มงคล ๓๘ ประการ)

- หนังสือแบบเรียนวิชาพระพุทธศาสนาม. ๑

- หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นโท

- ห้องสุมด

- อินเตอร์เน็ต





๙. การวัดและประเมินผล

๑. วิธีการวัด

- สังเกตการอภิปรายและการรายงานหน้าชั้น

- สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

- สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

- ตรวจใบงานที่ ๑๑ (เรื่อง : มงคล ๓๘ ประการ)

- ตรวจแบบทดสอบก่อน – หลังเรียน

๒. เครื่องมือการวัด

- แบบประเมินการอภิปรายและการรายงานหน้าชั้นเรียน

- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม

- แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล

- แบบประเมินใบงาน ๑๑ (เรื่อง : มงคล ๓๘ ประการ)

- แบบประเมินแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

๓. เกณฑ์การวัด

- แบบประเมินการอภิปรายและการรายงานหน้าชั้นเรียน เกณฑ์ ๕ = ดีมาก ๔ = ดี

๓ = ปานกลาง ๒ = ควรแก้ไข ๑ = ควรแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง

- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม เกณฑ์ ๓ = ดี , ๒ =พอใช้, ๑ = ควรปรับปรุง

- แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล เกณฑ์ ๓ = ดี, ๒ = ปานกลาง, ๑ = ควรปรับปรุง

- แบบประเมินใบงาน เกณฑ์ ๓ = ดีมาก ๒ = ดี ๑ = ควรปรับปรุง

- แบบทดสอบก่อน – หลังเรียน ๑๐ ข้อ ถูก ๕ ข้อถือว่าผ่าน

๑๐ . กิจกรรมเสนอแนะ

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๑๑ . บันทึกหลักการจัดการเรียนรู้

๑. สรุปผลการเรียนรู้

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๒. ปัญหาการเรียนรู้

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๓. แนวทางการแก้ไข

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๔. ข้อเสนอแนะ

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................





................................................ ..................................................

(พระมหาเกรียงไกร กิตฺติธโร) ( ..................................................)

นิสิตฝึกสอน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้



๑๒ . ความคิดเห็นผู้บริหาร หรือผู้ได้รับมอบหมาย

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................



ลงชื่อ..............................................................

(............................................................)

ตำแหน่ง..............................................................

0 comments:

Post a Comment

 

©2009 webpicture | by TNB