Custom Search

Saturday, August 8, 2009

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

ชื่อวิชา พระพุทธศาสนา ชื่อรหัส ส ๓๑๑๐๒ ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

เรื่อง : พุทธศาสนสุภาษิต เวลาเรียน ๒ คาบ

๑. สาระสำคัญ

พุทธศาสนสุภาษิต เป็นคำสุภาษิตที่มาจากพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัส ซึ่งเรียกว่า พุทธสุภาษิต หรือคำที่พระเถระกล่าว เรียกว่า เถรสุภาษิต ตลอดจนถึงคำกล่าวของเทวดา ที่เรียกว่า

เทวตาสุภาษิตเป็นต้น พุทธศาสนสุภาษิตเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งสามารถนำมาอธิบายเรื่องต่างๆได้ และเป็นคติเตือนใจ เพื่อเป็นการชี้โทษบอกแนวทางในการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อย่างมีความสุขปราศจากโทษ

๒. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ส. ๑.๑ : เข้าใจประวัติความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

มาตรฐาน ๑.๒ : ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ

มาตรฐาน ๑.๓ : ประพฤติและปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนาพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

๓. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

รู้และเข้าใจเกี่ยวกับพุทธศาสนสุภาษิตสามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้

๔. จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนอธิบายความหมาย และที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต ได้

๒. นักเรียนบอกถึงคุณค่าและการนำสุภาษิตไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้

๕. สาระการเรียนรู้

๕.๑ ที่มาและความหมายของพุทธศาสนสุภาษิต

๕.๒ พุทธศาสนสุภาษิต

- ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนเช่นใดเป็นคนเช่นนั้น

- อตฺตนา โจทยตฺตานํ จงเตือนตนด้วยตน

- นิสสมฺม กรณํ เสยฺโยใคร่ครวญดีแล้ว ก่อนทำ

- ทุราวาส ฆรา ทุกฺขา เรือนที่ครองไม่ดีย่อมนำทุกข์มาให้

๖. กระบวนการจัดการเรียนรู้

คาบที่ ๑

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

๑. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย พร้อมกับแผ่เมตตา

๒. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนให้นักเรียนทราบ

๓. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

๔. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการกล่าวคติธรรมประจำใจของครูเองให้นักเรียนฟัง

เช่น ทนฺโตเสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ผู้ฝึกตนเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐสุด จากนั้น ครูสนทนากับ นักเรียนว่านักเรียนมีคติธรรมประจำใจอะไรบ้าง โดยให้นักเรียนพูดคติธรรมของตนเองให้เพื่อน ฟัง ประมาณ ๕ – ๖ คน

ขั้นสอนและกิจกรรม

๑. ครูอธิบายเชื่อมโยงเข้ากับพุทธศาสนสุภาษิตว่า คติธรรมประจำใจที่นักเรียนใช้อยู่ใน นั้นก็คือส่วนหนึ่งของพุทธศาสนสุภาษิต

๒. ครูสนททนากับนักเรียนในคำว่าพุทธศาสนสุภาษิต ในเรื่องความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญ

๓. ครูแจกกระดาษ A 4 ให้นักเรียนคนละแผ่น แล้วให้นักเรียนเขียนคติธรรม ประจำใจ ของตนเองพร้อมให้ความหมายพอเข้าใจ คนละ ๑ คติธรรม ให้ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม หรือ นักเรียนคนไหนที่วาดภาพสวยก็สามารถวาดภาพประกอบได้ ตามความถนัดของนักเรียน จากนั้น ครูสุ่มนักเรียน ๒ – ๓ คนนำเสนอคติธรรมของตนให้เพื่อนฟัง นักเรียนส่งให้ครูประเมินผล พร้อม คัดเลือกผลงานที่โดดเด่นสัก ๔ – ๕ ผลงานให้รางวัลพร้อมทั้ง จัดป้ายนิเทศเพื่อเพิ่มเติมความรู้ ให้กับนักเรียน

๔. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มรายงานออกเป็น ๔ กลุ่มตามหัวข้อพุทธศาสนสุภาษิต ได้แก่

กลุ่มที่ ๑ เรื่อง การคบคนเช่นไร เป็นคนเช่นนั้น

กลุ่มที่ ๒ เรื่อง จงเตือนตนด้วยตน

กลุ่มที่ ๓ เรื่อง ใคร่ครวญดีแล้ว ก่อนทำ

กลุ่มที่ ๔ เรื่อง เรือนที่ครองไม่ดีย่อมนำทุกข์มาให้

โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม อธิบายให้ความหมายของพุทธศาสนสุภาษิตพร้อมยกตัวอย่าง ประกอบ อย่างน้อยสัก ๒ เรื่องจะเป็นเหตุการณ์ข่าว หรือจะเป็นนิทาน ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของแต่ ละกลุ่ม พร้อมทั้งเตรียมส่งตัวแทนออกมารายงานให้คาบต่อไป

ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา และบันทึกความรู้ลงในสมุด พร้อมส่งผลงานที่ทำ ให้ ครูประเมินผลต่อไป

คาบที่ ๒

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

๑. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย พร้อมกับแผ่เมตตา

๒. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนให้นักเรียนทราบ

๓. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการนำเสนอผลงานเรื่องคติธรรมประจำใจที่นักเรียนได้จัดทำ ที่ เด่นๆ และมอบรางวัล ตามที่กำหนดไว้ในชั่วโมงที่แล้ว จากนั้นครูและนักเรียนกำหนดเวลาในการ นำเสนองาน

ขั้นสอนและกิจกรรม

๑. นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนองาน กลุ่มละไม่เกิน ๑๐ นาที

๒. ครูและนักเรียนกลุ่มอื่นช่วยกันชักถามในเรื่องที่ข้องใจโดยให้นักเรียนในกลุ่มที่ นำเสนองานช่วยกันตอบ

ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนสุภาษิต พร้อมบันทึกความรู้ลงใน ใบงานที่ ๑ (เรื่อง : พุทธศาสนสุภาษิต) ส่งครูประเมินผลพร้อมกับเล่มรายงาน

๗. บูรณากา

- หน้าที่ของพลเมือง และวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต

- ศิลปะ การระบาสี

- ภาษาไทย ทักษะการพูดหน้าชั้นเรียน

๘. วัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

- ใบความรู้ที่ ๑ (เรื่อง : ที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต)

- ผลงานที่นักเรียนทำใส่กระดาษ A 4 (เรื่องคติธรรมประจำใจของตัวเอง)

- ใบงานที่ ๑ (เรื่อง : พุทธศาสนสุภาษิต)

- แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

- หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา ม. ๑

- ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

- ห้องสมุดโรงเรียน

- อินเตอร์เน็ต

๙. การวัดและประเมินผล

๑. วิธีการวัด

- สังเกตการอภิปรายและการรายงานหน้าชั้น

- สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

- สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

- ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

- ตรวจผลงานที่นักเรียนทำใส่กระดาษ A 4 /ใบงานที่ ๑ (เรื่อง: พุทธศาสนสุภาษิต)

๒. เครื่องมือการวัด

- แบบประเมินการอภิปรายและการรายงานหน้าชั้นเรียน

- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม

- แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล

- แบบประเมินใบงาน

- แบบประเมินแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน

๓. เกณฑ์การวัด

- แบบประเมินการอภิปรายและการรายงานหน้าชั้นเรียน เกณฑ์ = ดีมาก, = ดี

= ปานกลาง,= ควรแก้ไข ,= ควรแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง

- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม เกณฑ์ = ดี,=พอใช้, ๑ = ควรปรับปรุง

- แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล เกณฑ์ ๓ = ดี,= ปานกลาง, = ควรปรับปรุง

- แบบประเมินใบงาน เกณฑ์ ๓ = ดีมาก, ๒ = ดี ,๑ = ควรปรับปรุง

- แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน ๑๐ ข้อ ถูก ๕ ข้อขึ้นไปผ่าน

๑๐ . กิจกรรมเสนอแนะ

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๑๑ . บันทึกหลักการจัดการเรียนรู้

๑. สรุปผลการเรียนรู้

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๒. ปัญหาการเรียนรู้

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๓. แนวทางการแก้ไข

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๔. ข้อเสนอแนะ

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

................................................ ..................................................

(ร ) ( ..................................................)

นิสิตฝึกสอน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

๑๒ . ความคิดเห็นผู้บริหาร หรือผู้ได้รับมอบหมาย

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ..............................................................

(............................................................)

ตำแหน่ง..............................................................

0 comments:

Post a Comment

 

©2009 webpicture | by TNB