Custom Search

Saturday, August 8, 2009

ใบความรู้ที่ ๑


ใบความรู้ที่ ๑

เรื่อง: คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา

คำอธิบายสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา

ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
พระพุทธ เกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา เรื่องการสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันหลักของสังคมไทย สภาพแวดล้อมที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว พุทธประวัติ สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติเรื่อง ประสูติ เทวทูต ๔ การบำเพ็ญทุกรกิริยา การแสวงหาความรู้ ชาดก เรื่องอัมพชาดก ติตติรชาดก วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรื่อง ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา ประวัติและความสำคัญของวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันเทโวโรหณะ ศึกษา วิเคราะห์คุณค่าผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพระพุทธศาสนา มุ่งอนุรักษ์ศาสนวัตถุ และศาสนสถานในท้องถิ่น
พระธรรม เกี่ยวกับ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง พระรัตนตรัย (พุทธคุณ ๙) อริยสัจ ๔ ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) : ขันธ์ ๕ - ธาตุ ๔, สมุทัย(ธรรมที่ควรละ) : หลักกรรม อบายมุข ๖, นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) : สุข ๒ (กายิก, เจตสิก) คิหิสุข, มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) : ไตรสิกขา กรรมฐาน ๒ ปธาน ๔ โกศล ๓ มงคล ๓๘ ในเรื่อง ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาผู้ควรบูชา พุทธศาสนสุภาษิต คือ ยํ เว เสวติ ตาทิโส (คบคนเช่นไร เป็นคนเช่นนั้น) อตฺตนา โจทยตฺตานํ (จงเตือนตนด้วยตน) นิสมฺม กรณํ เสยฺโย (ใคร่ครวญก่อนทำจึงดี) ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา (เรือนที่ครองไม่ดี นำทุกข์มาให้) พระไตรปิฎก โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์ และสาระสังเขปของพระวินัยปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คือ ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ การบริหารจิตและเจริญปัญญา สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา วิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ นำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ๒ วิธีคือ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม และความคิดแบบคุณ-โทษ และทางออกศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน

พระสงฆ์ เกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ได้แก่ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี อนาถบิณฑิกะ นางวิสาขา ชาวพุทธตัวอย่าง ได้แก่ พระเจ้าอโศกมหาราช พระโสณะและพระอุตตระ หน้าที่ชาวพุทธ เรื่องวิถีชีวิตของพระภิกษุที่ต้องศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมด้านกาย วาจา และใจการเป็นเพื่อนที่ดีตามหลักทิศเบื้องซ้ายในทิศ ๖ มิตรแท้-มิตรเทียม การเข้าค่ายพุทธบุตร การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ เรื่องการไปวัด การแต่งกาย และการนำเด็กไปวัด การปฏิบัติตนในเขตวัด การเข้าพบพระภิกษุ การแสดงความเคารพ (การประนมมือ การไหว้ การกราบ การเคารพพระรัตนตรัย การฟังเจริญพุทธมนต์ การฟังสวดพระอภิธรรม การฟังพระธรรมเทศนา) ศาสนพิธี เรื่อง การจัดโต๊ะหมู่บูชา (แบบหมู่ ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙) การจุดธูปเทียน จัดเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา คำอาราธนาต่าง ๆ และศึกษาศาสนพิธีและการปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีในท้องถิ่นต่าง ๆ สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา เรื่อง พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนและครอบครัว
เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย และรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

0 comments:

Post a Comment

 

©2009 webpicture | by TNB